Header Image
ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
watermark

บรรยายสรุปจังหวัดนครศรีธรรมราช
---------------------------

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดนครศรีธรรมราช

ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต                                                                           
     จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 780 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 9,942.502 ตร.กม หรือประมาณ 6,214,064 ไร่ มีพื้นที่มาก เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ และเป็นอันดับที่ 16 ของประเทศ หรือประมาณ ร้อยละ 1.98 ของ พื้นที่ทั้งประเทศ ที่ตั้งของตัวจังหวัด ตั้งอยู่ประมาณละติจูด 9 องศาเหนือและลองติจูด 100 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 

     ทิศเหนือ      ติดต่อกับจังหวัดสุราษฏร์ธานีและอ้าวบ้านดอน
     ทิศใต้      ติดต่อกับอําเภอระโนด จังหวัดสงขลา อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง อําเภอห้วยยอดจังหวัดตรัง
     ทิศตะวันออก      ติดต่อกับอ่าวไทยเป็นชายฝังทะเล มีความยาวตั้งแต่ตอนเหนือของอําเภอขนอมลงไปทางใต้ของอําเภอหัวไทรประมาณ 225 กิโลเมตร
     ทิศตะวันตก      ติดต่อกับจังหวัดสุราษฏร์ธานีและจังหวัดกระบี่

ลักษณะภูมิประเทศ

     ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แตกต่างไปตามลักษณะ ของ เทือกเขานครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีความยาวตามแนวยาวของคาบสมุทร เป็นผลให้ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
     1. บริเวณเทือกเขาตอนกลาง
     2. บริเวณที่ราบชายฝั่งด้านตะวันออก
     3. บริเวณที่ราบด้านตะวันตก

ลักษณะภูมิอากาศ 

     ลักษณะภูมิอากาศของนครศรีธรรมราช จากสภาพที่ตั้งใกล้เส้นศูนย์สูตร มีภูเขาและเป็นคาบสมุทรทั้งสองด้าน กล่าวคือ ด้านตะวันออกเป็นทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ด้านตะวันตก เป็นทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย ทําให้นครศรีธรรมราช ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียและพายุหมุนเขตร้อน จากทะเลจีนใต้ สลับกัน ดังนี้

     1. ลมมรสุม ในแต่ละปี จังหวัดนครศรีธรรมราชจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ดังนี้ 
          1.1 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้มีทิศทางพัดผ่านมหาสมุทรอินเดียและ ทะเลอันดา มันเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณชายฝั่งตะวันตกจึงมีฝนตกชุก ในส่วนของจังหวัด นครศรีธรรมราช นั้นเนื่องจากมีเทือกเขาทางตะวันตกและตอนกลางเป็นแนวกั้นทิศทางลม ทําให้ฝนตกไม้มากนัก อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะอยู่ในช่วงประมาณ เดือน พฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม
          1.2 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมนี้พัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ ทําให้เกิดฝนตก ชุกในจังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด ตั้งอยู่ในด้านรับลมของ เทือกเขา อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะทําให้ฝนตกมากในช่วงประมาณเดือน พฤศจิกายน - มกราคม

     2. พายุหมุนเขตร้อน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อลักษณะอากาศของจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวคือ พายุหมุนเขตร้อนเป็นระบบความกดอากาศต่ำที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ ต่ำกว่า 2 องศา ละติจูดก่อตัวขึ้นเหนือน่านน้ำในเขตร้อนระหว่างละติจูด ประมาณ 5-20 องศาเหนือ โดยไม่มีระบบแนวปะทะเข้ามาเกี่ยวข้องและมีการหมุนเวียนชัดเจน ซึ่งตามข้อ ตกลงระหว่างประเทศได้แบ่งชนิดของพายุหมุนเขตร้อนตามความรุนแรง ดังต่อไปนี้ 
          2.1 พายุดีเปรสชั่น เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วสูงสุด ใกล้ศูนย์กลางที่ผิวพื้น ไม่เกิน 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ใช้สัญลักษณ์ D
          2.2 พายุโซนร้อน เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ที่ผิวพื้น ตั้งแต่ระหว่าง 34-63 นอต (63-117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
          2.3 พายุใต้ฝุ่น เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วสูงสุดใกล้ศูนย์กลางที่ผิวพื้น ตั้งแต่ 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไป

     จังหวัดนครศรีธรรมราช ในช่วงตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป จนสิ้น เดือน พฤศจิกายน มีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากพายุหมุนเขตร้อน เพราะใน ช่วงดังกล่าว พายุมีโอกาสที่จะเคลื่อนเข้าสู่จังหวัดและก่อให้เกิดผลกระทบ โดยตรงมากที่สุด ซึ่งจากข้อมูล ตั้งแต่ พ.ศ 2494 -2539 ปรากฏว่าพายุเคลื่อนจากอ่าวไทย และขึ้นฝั่งที่จังหวัด นครศรีธรรมราช 10 ลูก ส่วนใหญ่มีกําลังแรงเป็นพายุดีเปรสชั่น แต่เนื่องจากสภาพภูมิ ประเทศที่มีชายฝั่ง ทะเลเป็นแนวยาวติดต่อ่าวไทย จังหวัด นครศรีธรรมราชจึงมีโอกาสได้ รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชั่นด้วย โดยมีพายุ 2 ลูก จากจํานวนทั้งหมด 10 ลูก เคลื่อนที่ขึ้น ฝั่งขณะมีกําลังแรงขั้นพายุโซนร้อน ส่งผลกระทบ อย่างรุนแรงต่อจังหวัดทั้งจากกระแสลมที่ พัดแรงจัด และฝนที่ตกหนักมากจนเกิดอุทกภัย เป็นบริเวณกวาง พายุ 2 ลูกดังกล่าวได้แก่ พายุ โซนร้อน "แฮเรียต" ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณ แหลมตะลุมพุก เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ 2505 นับเป็นภั ยธรรมชาติที่รุนแรง ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช อีกลูกหนึ่ง คือ พายุโซนร้อน "ฟอร์เรสต์" ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ 2535

ลักษณะฤดูกาล

   นครศรีธรรมราช มี 2 ฤดู คือ
      1. ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน มีอากาศร้อนตลอดฤดูกาล อุณหภูมิ ปี 2556 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2556 วัดได้ค่าเฉลี่ย 27.25 องศาเซลเชียส อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 20.5 องศาเซลเซียสในเดือนธันวาคม 2556 อุณหภูมิสุงสุด วัดได้ 37.5 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน 2556 ความชื้นสัมพัทธ์ โดยเฉลี่ย 82.58%
         2.1 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เป็นช่วงที่รับอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แต่ เนื่องจากมี เทือกเขานครศรีธรรมราชที่สูงชัน เป็นแนวกั้นทิศทางลม จึงมีฝนตกไม่มากนัก
         2.2 ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - มกราคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือช่วงนี้มีฝนตกหนาแน่น 
      ปริมาณน้ำฝน รวมตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 ถึงเดือนธันวาคม 2556 วัดได้ 2867.7 มิลลิเมตร โดยมีปริมาตรสูงสุดวัดได้ 1050.0 มิลลิเมตร เมื่อเดิอนพฤศจิกายน 2556 สำหรับปริมาณน้ำฝนต่ำสุดเดือนมีนาคม 2556 มีปริมาณ 5.1 มิลลิเมตร ในรอบปี 2556 มีฝนตก จำนวน 164 วัน 
      จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคใต้ มีพื้นที่ 9,942.502 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,214,064 ไร่ มากเป็นอันดับสองของภาคใต้ รองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี และอันดับ 16 ของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือติดต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทิศใต้ติดต่อจังหวัดสงขลา พัทลุง  ตรัง ทิศตะวันออกติดต่ออ่าวไทย และทิศตะวันตกติดต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่

การปกครอง

   1. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
      ระดับจังหวัด ประกอบด้วยส่วนราชการประจำจังหวัด จำนวน 34 ส่วนราชการ
      ระดับอำเภอ ประกอบด้วย 23 อำเภอ 165 ตำบล 1,551 หมู่บ้าน
   2. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วยส่วนราชการสังกัดส่วนกลาง ซึ่งมาตั้งหน่วยงานในพื้นที่จังหวัด จำนวน 97 หน่วยงาน
   3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 185 แห่ง  ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 54 แห่ง (เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 3 แห่ง และเทศบาลตำบล 50 แห่ง)  และองค์การบริหารส่วนตำบล 130 แห่ง

ประชากรและการจ้างงาน

   ปี 2558 จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประชากร 1,552,530 คน แบ่งเป็นชาย 768,887 คน หญิง 783,643 คน อำเภอผู้มีประชากรมาก คือ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช 271,126 คน รองลงมาเป็นอำเภอทุ่งสง 159,924 คน และอำเภอท่าศาลา 112,565 คน
   การจ้างงาน มีผู้อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 15 ปีขึ้นไป) จำนวน 1,391,137 คน โดยมีกำลังแรงงานจำนวน 1,038,543 คน แยกเป็นผู้มีงานทำ 1,033,596 คน และผู้ว่างงาน 10,751 คน และมีผู้รอฤดูกาล 2,606 คน

เศรษฐกิจ

   ปี 2557  ผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross provincial product) ของจังหวัดนครศรีธรรมราชมีมูลค่า 136,562 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.13 ของภาคใต้ สาขาการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ เกษตรกรรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ อุตสาหกรรม การศึกษา และการขายส่ง การขายปลีก มีสัดส่วนร้อยละ 23.69 13.37 10.34 และ 10.10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ตามลำดับ สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมสำคัญส่วนใหญ่มาจากการแปรรูปสินค้าเกษตร ได้แก่ การผลิตยางพาราแปรรูป
      1) การเกษตร  จากพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด 6,214,064 ไร่ เป็นพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร 3,059,412.75 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 49.23 ของพื้นที่จังหวัด แยกเป็นที่อยู่อาศัย 230,845 ไร่ ที่นา 379,156.75 ไร่ พืชไร่ 63,644 ไร่ ไม้ผลและไม้ยืนต้น 2,560,647 ไร่ สวนผักและไม้ดอก 55,965 ไร่ และอื่นๆ 2,923,806 ไร่ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด จำนวน 1,851,549 ไร่ รองลงมาเป็นข้าว 321,564 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 346,224 ไร่ และไม้ผล เช่น มังคุด 93,455 ไร่ ทุเรียน 43,216 ไร่ เงาะ 35,948 ไร่ และลองกอง  29,794 ไร่
      2) การปศุสัตว์  การเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงเพื่อเป็นรายได้เสริมและเป็นรายย่อย สัตว์เลี้ยงที่สำคัญได้แก่ ไก่ เป็ด สุกร โคเนื้อ และแพะ
      3) การประมง  จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำทั้งสัตว์น้ำจืด และสัตว์น้ำทะเล โดยมีชายฝั่งทะเลในพื้นที่ 6 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอขนอม สิชล ท่าศาลา เมือง ปากพนัง และอำเภอหัวไทร รวมระยะทางยาว 225 กิโลเมตร พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่เลี้ยงกุ้งทะเลและประกอบอาชีพการประมง 7 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอขนอม ท่าศาลา เชียรใหญ่ ปากพนัง เมือง สิชล และอำเภอหัวไทร มีเรือประมงที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงจำนวน 3,936 ลำ ฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล 2,453 ฟาร์ม  ผู้ประกอบการ 2,359 ราย ปริมาณสัตว์น้ำที่ขึ้นท่าเทียบเรือ 101,049.88 ตัน มูลค่า 1,959.47 ล้านบาท  

ด้านสังคม

   ​​​​​​​   ​​​​​​​1) การศึกษา  มีมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยวิทยาเขตที่เปิดสอน 7 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยรามคำแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์วิทยพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยมหากุฎราชวิทยาลัยวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครศรีธรรมราช และแบ่งพื้นที่เขตการศึกษาประถมศึกษาออกเป็น 4 เขต และพื้นที่มัธยมศึกษา 1 เขต รวมสถานศึกษา 1,025 แห่ง
   ​​​​​​​   ​​​​​​​2) ศาสนา  มีวัด 605 แห่ง (มหานิกาย 528 แห่ง ธรรมยุต 77 แห่ง) ที่พักสงฆ์ 157 แห่ง มัสยิด 122 แห่ง โบสถ์คริสต์ 27 แห่ง มีวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง โรงเรียนปริยัติธรรม 7 แห่ง ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด 105 แห่ง ศูนย์ปฏิบัติการพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 15 แห่ง
   ​​​​​​​   ​​​​​​​3) สาธารณสุข  มีสถานบริการสาธารณสุขของภาครัฐ ประกอบด้วย โรงพยาบาล 31 แห่ง ศูนย์อนามัย 1 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน 251 แห่ง และหน่วยบริการคู่สัญญา 25 เครือข่าย และสถานบริการสาธารณสุขเอกชน 4 แห่ง

การคมนาคมขนส่ง     

   ​​​​​​​1) การขนส่งทางบก 
   ​​​​​​​   ​​​​​​​ทางรถไฟ  รถไฟสายใต้ทุกขบวนผ่านชุมทางทุ่งสงและมีทางรถไฟแยกจากชุมทางเขาชุมทอง ไปยังสถานีนครศรีธรรมราช สำหรับขบวนรถจากนครศรีธรรมราช ได้แก่ ขบวนรถจากนครศรีธรรมราช ถึงกรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ ถึงนครศรีธรรมราช วันละ 2 ขบวน คือ รถด่วนและรถเร็ว
   ​​​​​​​   ​​​​​​​ทางรถยนต์  การเดินทางโดยรถยนต์มีทางหลวงสายสำคัญหลายสาย ทั้งทางหลวงแผ่นดินและ ทางหลวงจังหวัดเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดและอำเภอ การคมนาคมภายในตัวจังหวัดและไปสู่จังหวัดข้างเคียง มีทั้งรถสองแถว รถตู้โดยสาร รถ TAXI และรถโดยสารประจำทางให้บริการ
   ​​​​​​​2) การขนส่งทางน้ำ  จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเมืองติดต่อทางน้ำ ในอดีตเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำ ได้แก่ อำเภอปากพนัง อำเภอขนอม อำเภอท่าศาลา ปัจจุบันมีท่าเทียบเรือในการขนส่งสินค้าทั้งของรัฐบาลและเอกชน รวม 24 ท่า
   ​​​​​​​3) การขนส่งทางอากาศ  จังหวัดนครศรีธรรมราชมีท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเที่ยวบินจากนครศรีฯ – กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ – นครศรีฯ  โดยสารการบินนกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย และสายการบินไทยไลอ้อนแอร์

การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
   ​​​​​​​1) การสื่อสารไปรษณีย์  มีศูนย์ไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง และที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 28 แห่ง
   ​​​​​​​2) โทรศัพท์  มีหน่วยงานให้บริการโทรศัพท์ 2 หน่วยงาน คือ บริษัท ทีโอที จำกัด และบริษัท ไทยเทเลโฟนแอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TT&T)
   ​​​​​​​3) ไฟฟ้า  มีหน่วยงานไฟฟ้าภูมิภาค 3 แห่ง ซึ่งรับผิดชอบในการบริการและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วยสถานีไฟฟ้านครศรีธรรมราช สถานีไฟฟ้าทุ่งสง สถานีไฟฟ้าปากพนัง
   ​​​​​​​4) ประปา  มีหน่วยงานที่ให้บริการด้านการประปา 7 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงานการประปา 6 แห่ง และการประปาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช 1 แห่ง

สื่อสารมวลชน
   ​​​​​​​1) สถานีวิทยุชุมชน 74 แห่ง
   ​​​​​​​2) วิทยุกระจายเสียง 7 สถานี
   ​​​​​​​3) สถานีโทรทัศน์และสถานีถ่ายทอด 7 สถานี
   ​​​​​​​4) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราชมี 5 สำนักพิมพ์

การท่องเที่ยว
   ​​​​​​​นครศรีธรรมราชเป็นแหล่งท่องเที่ยวทั้งด้านศิลปวัฒธรรม โบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติยิ่งใหญ่ของภาคใต้ และเคยได้รับรางวัลกินรี รางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย (Tourism Awards) ด้านแหล่งท่องเที่ยวรางวัลสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว บุคลากรได้รับรางวัลมัคคุเทศก์ดีเด่น 2 ปีซ้อน มีทรัพยากรท่องเที่ยว 473 แห่ง แยกเป็นประเภทธรรมชาติ 282 แห่ง ประวัติศาสตร์โบราณ ศาสนสถาน 103 แห่ง วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนและกิจกรรม 88 แห่ง สถานที่ท่องเที่ยว ประกอบด้วย กลุ่มนิเวศน์ป่าเขา 50 แห่ง กลุ่มหาดทราย 20 แห่ง กลุ่มวิถีลุ่มน้ำ 6 แห่ง และกลุ่มศาสนาศิลปวัฒนธรรม 49 แห่ง

​​​​​​​

 


Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 70,750